เมื่อต้องใช้ชีวิตในโลกแห่งความมืด

เมื่อต้องใช้ชีวิตในโลกแห่งความมืด

วันนี้มาเล่าวันสบายๆแล้วกันครับ ไม่เอาวิชาการ 555

จริงๆเริ่มต้นจากวันนี้ไปเป็นเพื่อนแฟน เพื่อไปหาหมอที่โรงพยาบาลจุฬาฯ แล้วตั้งใจว่าจะแวะไปทำบุญโรงศพ ที่มูลนิธิ ร่วมกตัญญูตรงวัดหัวลำโพงเท่านั้น ก็เลยได้ของแถมมาด้วยการทำบุญที่วัดหัวลำโพงด้วยเลย และข้ามไปเดินหาอะไรกินที่ฝั่งจามจุรีสแควร์ด้วย

ระหว่างที่เดินข้ามด้วยทางเชื่อมใต้ดินของ MRT นั่นเอง ตาก็ไปสะดุดกับป้ายโฆษณาอันโตของ NSMScienceSquare หรือ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช นั่นเองโดยน่าสนใจเพราะว่าตั้งที่ชั้น 4 ของ จามจุรีสแควร์นั่นเอง ซึ่งเป็นเป้าหมายถัดไป แล้วส่วนตัวเป็นคนชอบเดินเปิดหูเปิดตาเรื่องวิทย์อยู่แล้วด้วย เลยมุ่งหน้าไปเลยครับ 

โดยคุยกับแฟนเล่นๆว่า ถ้าเค้าเก็บค่าเข้าเรา เท่าไร เราถึงจะยอมจ่าย ก็ตกลงกันว่า 80 บาท คือหากเกินกว่านี้เราก็ไม่เข้าครับ เพราะว่าเราไม่รู้ว่ามีอะไรข้างในเลย อยากไปเปิดหูเปิดตานั่นไง

เมื่อไปถึงก็ งง เพราะว่าฟรี! ไม่ได้เป็นช่วงโปรโมชั่นอะไร แต่ว่ามันฟรีอยู่แล้วครับ ก็เดินดู ของเล่นที่ให้ได้ลองเล่นกันสนุกสนานกันไปเลยครับ แต่ละอย่างก็ทำให้ได้ความรู้เพิ่ม หรือได้ทบทวนความรู้เก่าที่เคยรู้อยู่แล้วด้วยครับ สนุกดี และระหว่างที่เดินไป ก็ไปสะดุดกับนิทรรศการ dialogue in the dark ซึ่งเป็นการแบ่งโซนเพื่อจำลองว่าหากเรามองอะไรไม่เห็นอีกเลย เราจะเจอสภาพแวดล้อมรอบข้างที่เป็นอย่างไร ตอนนั้นเข้าใจว่า คงเป็นทางเดินเหมือนเขาวงกต มีสภาพแวดล้อมแบบต่างๆข้างใน และ มืดมาก โดยมีพี่ๆที่พิการทางสายตาจริงๆเป็น staff พาเดินครับ โดยเก็บค่าเข้าผู้ใหญ่คนละ 90 บาท ตอนแรกก็ผ่านเลย เพราะว่าแพงกว่าที่เราคิดเอาไว้ 10 บาท เลยไม่ได้ตั้งใจจะไปดูครับ 5555

หลังจากที่เดินกันจนทั่ว (ไม่ได้ไปดูในนิทรรศการนะ) ก็เลยลงมาหาอะไรกินกันเพราะว่าเดินจนเพลิน ลืมหิวเลย ว่างั้นเถอะ ตอนที่กินไป ก็นั่งคิดๆไป ว่าจะดูดีรึเปล่า สุดท้ายผมตัดสินใจไปดูครับ เพราะว่าเป็นการช่วยสนับสนุนพี่ๆเค้าด้วย ให้เค้าได้ทำอาชีพที่สุจริตครับ 90บาท เรามีโอกาสหาได้มากกว่าเค้าเยอะนักอย่าเสียดายเลย

โดยนิทรรศการนี้ สิ่งที่เราจะเจอก็คือ เราจะได้ไม้เท้าคู่กายคนละ 1 อันครับ เพื่อเดินเข้าไปข้างในเป็นรอบ (รอบนึงหลายคน ที่ซื้อบัตรมาไล่ๆกันเข้าไปพร้อมกัน) โดยมีพี่ผู้พิการที่เชี่ยวชาญนำทาง พร้อมอธิบายสิ่งต่างๆภายใน โดยข้างในนั้น มืดมาก แต่ปลอดภัยทุกอย่างนะครับ มืดขนาดไหนเหรอ ขนาดที่มองมือตัวเองไม่เห็นครับ เอามาอยู่ตรงหน้ายังมองไม่เห็นแม้แต่เงาเลย มืดสนิทจริงๆ

ข้างในนั้นมีสภาพบรรยากาศหลายแบบมากๆครับ ซึ่งจำลองมาจาก ชีวิตในสังคมเมืองเรานี่ล่ะครับ เพียงแต่มืดสนิท โดยเราจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น ดม ฟัง สัมผัส เว้นอย่างเดียว คือการมองเห็น เพราะมืดจริงอย่างที่บอก โดยอยู่ในนั้น และได้สัมผัสบรรยากาศแบบต่างๆ นานถึง 1 ชั่วโมงครับ แต่เวลาผ่านไปเร็วมากครับไม่นานอย่างที่คิดหรอก และเค้าจำลองหลายอย่างได้เหมือนของจริง มากๆครับ ขอบอก และทุกอย่างจับต้องได้ และปลอดภัยครับ

ทั้งหมดนี้อยากให้ไปสัมผัสด้วยตัวเองจริงๆครับ ผมเล่าหมดก็คงไม่น่าสนใจ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมได้กลับมาก็คือ ขนาดว่าเราอยู่ในโลกจำลองนี้ การใช้ชีวิตเรายังติดขัดเลย จากการที่เรามองไม่เห็น แล้วในชีวิตโลกจริง จะลำบากกว่าขนาดไหน เพราะว่าผมได้สัมผัสสถานที่จำลองในหลายแบบครับ เช่นตัวอย่าง ประตูรั้วหน้าบ้าน ที่มีตู้ไปรษณีย์ แรกสัมผัส เราไม่รู้หรอกว่าเป็นรั้วแบบไหนอย่างไรจนต้องคลำๆสักพักถึงนึกออก คลำไปคลำมาเจอวัตถุอย่างหนึ่ง คลำๆๆๆ จนกระทั่งประกอบรูปร่างได้ว่าเป็นตู้ไปรษณีย์อันเล็กที่นิยมแขวนหน้าบ้าน แต่กว่าจะนึกออก ก็คลำไปซะเต็มที่เลย นี่ถ้าเป็นตู้ไปรษณีย์จริง บอกได้คำเดียวว่าเลือดไหลไปแล้วครับ เพราะว่าของจริงมักจะเป็นแบบโลหะคมๆเลย แต่ที่นี่เค้าเป็นพลาสติกขอบมนครับลูปคำได้ไม่บาดมือ หรือแม้กระทั่ง ตู้ไปรษณีย์สีแดง ที่เราหย่อนจดหมายก็ยังมีเลย แต่เค้าจัดการลบเหลี่ยมคมหมด จับได้ไม่มีส่วนไหนอันตรายแล้วครับ นี่ทำให้เราคิดได้เลยว่า แทบทุกสิ่งที่เราเห็นในบ้านเรา ไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อคนพิการกลุ่มนี้แต่อย่างใดเลย มองข้ามไปเลยด้วยซ้ำ นี่ขนาดเป็นแบบจำลอง เรายังเจออุปสรรคการใช้ขนาดนี้แล้วชีวิตจริงล่ะ....

หากอยากรู้ว่า สายตาของคนเราสำคัญขนาดไหน แล้วคนตาบอดเค้าจะสัมผัสโลกใบนี้ได้อย่างไร เค้าใช้ชีวิตอยู่โดยมองไม่เห็นแบบเราได้อย่างไร ต้องมาสัมผัสด้วยตัวเอง เพราะว่าผมไม่มีภาพมาให้ดูครับ เพราะถ้ามี ก็คงเป็นภาพนี้ภาพเดียว

 

เพราะว่าข้างในมืดแบบนี้เลยครับ 5555 แม้กระทั่ง นาฬิกาที่มีเรืองแสง เค้ายังไม่ให้นำเข้าเลยครับ (มี locker ฝากของ)

ไปกันนะครับ ชั้น 4 จามจุรีสแควร์ เท่าที่คุยกับพี่เค้าก็คือ จะตั้งจนตุลาคมครับ หากไม่เซ็นต์สัญญาต่อก็เลิกครับ ทางใครทางมัน พี่ๆเค้าก็ตกงานกันตามระเบียบ 90บาทคุ้ม เชื่อผมเถอะ

Create: Modify : 2011-02-26 22:20:00 Read : 4396 URL :